วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

เพชรสังฆาต แก้ริดสีดวง

เพชรสังฆาต แก้ริดสีดวง


 เพชรสังฆาต  เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งในวิตามินซี มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถช่วยลดอาการอักเสบ รวมทั้งช่วยให้หลอดเลือดดำหดตัวลงได้อีกด้วย ซึ่งสำหรับคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร จะเกิดภาวะเลือดดำคั่งจนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก การรับประทานเพชรสังฆาตจึงช่วยบรรเทาอาการได้ รวมทั้งรักษาอาการอักเสบและทำให้หลอดเลือดดำที่บวมเป่งอยู่บริเวณทวารหนักหดตัวลงได้ ซึ่งการศึกษาจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ยังยืนยันถึงข้อดีของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตในการรักษาโรคริดสีดวงทวารว่ามีสรรพคุณเทียบเท่ากับ ยาแผนปัจจุบัน หรือยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเลยค่ะ

          แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องใช้ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ เพราะสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดเผยว่า การใช้อย่างไม่ระมัดระวังอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์อย่าง ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะผิดปกติ แน่นท้อง หรือท้องโตขึ้นผิดปกติได้ค่ะ

ข้อควรระวังในการรับประทานเพชรสังฆาต

        ถึงแม้เพชรสังฆาต จะเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะในเถาของเพชรสังฆาตนั้นมีสารแคลเซียมออกซาเลทสูง (Calcium Oxalate) สูง จึงอาจทำให้เกิดการตกค้างได้หากรับประทานเข้าไปมากเกินพอดี อีกทั้งสารออกซาเลทนั้นยังอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองที่คอและเยื่อบุภายในปาก ดังนั้นหากจะนำเถาของเพชรสังฆาตมารับประทานสด ๆ ควรนำหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ หุ้มด้วยกล้วยสุก หรือมะขามเปียก ก็ได้ แล้วค่อยรับประทาน และห้ามเคี้ยวโดยเด็ดขาด แต่ถ้าจะให้สะดวกสำหรับคนที่เพิ่งรับประทาน ก็สามารถรับประทานเป็นแบบแคปซูลได้  วิธีนี้ก็ยังทำให้ได้คุณประโยชน์จากเพชรสังฆาต เช่นเดียวกับการรับประทานแบบสด ๆ ค่ะ

ข้อมูลจาก kapook.com

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

ดอกแคนา

สำหรับบทความนี้ มาทำความรู้จักกับแคนากันค่ะ แคนา หรือแคป่า  ที่เรามักเห็นตามสถานที่ราชการและตามหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ นั่นแหละ บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ดอกขาว ๆ นั้นสามาถทานได้ และมีประโยชน์ด้วยนะคะ เมื่อวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ก่อน ได้มีโอกาสไปเก็บดอกแคนา มาลวกกินกับน้ำพริก อร่อยดีค่ะ เลยอยากจะนำเอาข้อมูลและสรรพคุณของดอกแคนามาฝากกัน
ต้นแคป่า
ต้นแคนา/แคป่า


ชื่อพื้นเมือง 
   แคป่า  แคขาว แค่เก็ต  แคทราย แคแน  แคฝ่อย แคพูฮ่อ แคยอกดำ แคยาย แคอาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           ต้นแคนา เป็น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก 
           ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ 
           ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร 
ดอกแคป่า

           ดอก เป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 2-10 ดอก บานทีละดอก กลิ่นหอม บานตอนกลางคืน รุ่งเช้าร่วง กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวเล็กโค้งยาว 3-4 เซนติเมตร จะหุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม เมื่อดอกบานจึงมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอก ติดกันเป็นท่อ ปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยาว 16-18 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว 13-14 เซนติเมตร 
         ส่วนโคนดอกแคนา แคบคล้ายหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนบานออกคล้ายกรวยสีขาวแกมชมพู แฉกกลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 3-4 เซนติเมตร ขอบกลีบย่น เป็นคลื่น ดอกสีขาว ดอกตูมสีเขียวอ่อนๆ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดอยู่ที่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยกมีขนาดสั้น 2 อัน ยาว 2 อัน และมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน รูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีเทาดำ จานฐานดอกรูปเบาะ เป็นพูตื้นๆ เกสรเพศเมีย 1 อัน 
        ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน กลีบดอกบานใช้ต้มจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม
ดอกแคป่า


สรรพคุณ    
             ตำรายาไทย  ใช้  ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก ดอก มีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม ขับผายลม เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท แก้โรคชัก

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.phargarden.com

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

เพรชสังฆาต คือ ...

เพชรสังฆาต ชื่อวิทยาศาสตร์Cissus quadrangularis เป็นไม้เลื้อยในวงศ์องุ่น ชื่ออื่นๆคือ สันชะฆาต ขันข้อ สามร้อยต่อ หรือ สันชะควด เปลือกเถาเรียบ สีเขียว รูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ตรงข้อเล็กรัดตัวลง แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย มีมือเกาะออกตรงข้อต่อตรงข้ามกับใบ ตามข้อมียางขาวมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก
เพชรสังฆาต

ในตำราสมุนไพร เพชรสังฆาต ใช้แก้ริดสีดวงทวารหนัก คั้นเอาน้ำดื่ม แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้กระดูกแตกหักซ้น ขับลมในลำไส้ ทางภาคเหนือ ใช้น้ำจากต้น หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร ในประเทศอินเดีย ใช้ ลำต้น เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก น้ำคั้นจากต้นกินแก้โรคลักปิดลักเปิด แก้อาการผิดปกติของประจำเดือน  มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และต้านอนุมูลอิสระ มีแคโรทีนอยด์และวิตามินซีมาก
เพรชสังฆาต

เพชรสังฆาต

ข้อมูลจาก wikipedia